วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ลักษณะโดยทั่วไป




ชื่อพฤกษศาสตร์: Avicennia alba Blume 

ชื่อพื้นเมือง: แสมขาว 

วงศ์: AVICENNIACEAE 

ลักษณะ: เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 8 - 20 เมตร ราก,ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายดินสอ ยาว 15 - 30 เซนติเมตร โผล่เหนือผิวดิน หนาแน่นบริเวณโคนต้น ลำต้น มีลำต้นหลักเพียงหนึ่งเห็นได้ชัดเจน เนื้อไม้แข็ง  เปลือกเรียบสีเทา ลำต้นที่มีอายุมากขึ้น มักจะมีสีสนิมเกิดจากเชื้อรา ติดตามกิ่งและผิวของลำต้น ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปหอกแกมรี หรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน ขนาด 2 - 5 X 5 - 16 เซนติเมตร ฐานใบแหลม ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม ก้านใบยาว 1 - 2 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านท้องใบมีขนยาวนุ่ม มันพบในป่าชายเลน

ความสัมพันธ์กับชุมชน :
เป็น แหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ เป็นฉากกำบัง ป้องกันพายุ คลื่น ลมกัดเซาะชายฝั่ง


ความสำคัญทางเศรษฐกิจ :
เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์น้ำ เป็นแนวกันลม นำไม้มาเผาถ่าน ประโยชน์ทางสมุนไพร แก่นแสม มีรสเค็ม เฝื่อน ต้มกับน้ำแก้กษัย โดยมากจะต้มรวมกับแก่นแสมสาร เป็นยาขับเลือดสตรี 









  รากอากาศของต้นแสมขาว     

        รากอากาศ คือ การเจริญเติบโตขึ้นโผล่พ้นผิวดิน และรากดูดอาหารก็จะงอกออกมามากมายในชั้นดินที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ การหายใจของรากอากาศจะมีความสำคัญน้อยกว่าบทบาทการสร้างรากดูดอาหาร ระบบการจับอากาศของรากนั้นจะพบในที่ติดกับ lenticle ของรากอากาศ หรือ prop roots เช่น เมื่อน้ำท่วมปกคลุมรากต้นแสม ความดันในระบบรากก็จะลดลง และจะเริ่มสูงขึ้นอีกครั้งเมื่อน้ำเริ่มลด แล้วรากก็จะดูดอากาศเข้ามาในรากอย่างรวดเร็ว
        รากอากาศเปรียบเสมือนปล่องที่เป็นตัวถ่ายอากาศของระบบ รากในดินเลนที่ไม่มีอากาศ ดินโคลนชั้นลึกลงไปไม่เพียงเป็นชั้นที่ขาดออกซิเจนเท่านั้น แต่ยังเต็มไปด้วยก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ดังนั้นรากสมอจึงไม่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซหรือสารอาหารกับดินรอบๆ มัน แต่บางครั้งก็พบก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในดินชั้นบนซึ่งรากดูดอาหารอาศัยอยู่
       








ลักษณะของดอก และ ผล



ดอก

        ออกเอนช่อที่ปลายกิ่ง หรือง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง เป็นช่อเชิงลด ก้านช่อดอกยาว 1-5 เซนติเมตร แต่ละช่อมี 8-14 ดอก ช่อดอกย่อยเป็นช่อกระจุก ก้านดอกยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร ดอกย่อยไม่มีก้าน ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร กลีบเลื้ยง 5 กลีบ ติดคงทน กลีบคอก 4 กลีบ รูปไข่กว้าง ยาว 0.3 เซนติเมตร โคนกลีบติดกัน สีส้มอมเหลีองถึงเหลือง เกสรเพศผู้ 4 อ้น ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน













 
 ผล

        รูปไข่กว้าง เบื้ยว ถึงเกือบกลม แบนด้านข้าง ขนาด 1.5-2 X 1.5-2.5 เซนติเมตร เปลือกอ่อนนุ่ม สีเขียวอมเหลือง มีขนนุ่ม ปลายผลไม่มีจะงอย ผลแก่เปลือกจะแตกด้านข้าง ตามยาวผล และม้วนเป็นหลอดกลม แต่ละผลมี 1 เมล็ดเป็นไม้เบิกนำที่ขึ้นได้ดีในที่โล่งติดชายฝั่งทะเล หรือพื้นที่ดินเลนงอกใหม่ที่ดินค่อนข้างเป็นทราย






ลักษณะของใบ



         เป็นใบเดียว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีหรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ ขนาด 1.5-4 X 3-12 เซนติเมตร ปลายใบมน ถึงแหลมเล็กน้อย ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบม้วนเข้าหากันทางด้านท้องใบ มีลักษณะคล้ายหลอดกลม ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านท้องใบขาวอมเทา หรือขาวมีนวล ก้านใบยาว 0.4-1.4 เซนติเมตร




















การปรับตัวของพืชในป่าชายเลนต่อสภาพแวดล้อม


ตัวอย่างพืชในป่าชายเลน


       ประเทศไทยมีพรรณไม้ในป่าชายเลน 74 ชนิด ซึ่งพรรณไม้ที่เด่นและเป็นไม้ที่สำคัญในป่าชายของไทยนั้น ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) , โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) , แสมทะเล (Avicennia marina) , แสมขาว (Avicennia alba) , แสมดำ (Avicennia officinalis) ,โปรงแดง (Ceriops tagal) , หญ้าทะเล ฯลฯ



การปรับตัวสำหรับการมีชีวิตในดินที่มีน้ำท่วมขัง

        โดยปกติแล้วในป่าชายเลนจะมีน้ำจะท่วมขังอยู่เสมอเนื่องจากอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง ดังนั้นดินในป่าชายเลนจึงมีน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ ทำให้ออกซิเจนในอากาศไม่สามารถแพร่กระจายลงสู่ดินได้ อย่างไรก็ตามรากของต้นไม้ป่าชายเลนต้องการออกซิเจนเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต และการเจริญเติบโต ดังนั้นต้นไม้ป่าชายเลนส่วนมากจึงมีรากอากาศ (pneumatophores) โผล่พ้นเหนือดิน ออกซิเจนจึงสามารถผ่านลงทางรากอากาศสู่รากที่อยู่ใต้ดินได้ รูปทรงของรากอากาศมีตั้งแต่ผอมบางคล้ายแท่งดินสอ เช่น ต้นแสม จนกระทั่งเป็นปุ่มอ้วนๆ ซึ่งพบในต้นลำแพน และต้นตะบูนดำ
ต้นไม้แต่ละชนิดจะมีลักษณะรากเฉพาะของมันเอง ต้นโกงกางจะมีรากที่มองดูเหมือนกับสุ่มจับปลา ส่วนต้นแสมก็จะมีรากหายใจที่แหลมโผล่ออกมาจากใต้ดินมองดูเหมือนไม้ปลายแหลม ขนาดใหญ่ และต้นถั่ว มีรากหายใจโผล่พ้นดินออกมามองดูเหมือนกับหัวเข่าของมนุษย์

        ต้นไม้ป่าชายเลนบางชนิดจะมีรูเล็กๆ จำนวนมากที่บริเวณลำต้นและรากที่โผล่ออกมา รูเหล่านี้จะนำอากาศเข้าสู่ต้นพืช และภายในต้นไม้ก็จะมีเนื้อเยื่อฟองน้ำนำออกซิเจนสู่รากเช่นกัน

DSC_9073


Text Box: รากอากาศของต้นไม้ป่าชายเลน



การปรับตัวเพื่อพยุงตัวเองในดินเลนเปียก


        ต้นไม้ป่าชายเลนเจริญเติบโตมีความสูงประมาณ 40 เมตร และเจริญเติบโตได้ดีในดินเลนนิ่ม ดังนั้น จึงถูกน้ำพัดให้ล้มลงได้ง่าย พรรณไม้ในป่าชายเลนจึงมีการปรับตัวหลายๆ อย่างเพื่อที่จะให้ลำต้นยืนอยู่ได้ ต้นไม้ป่าชายเลน เช่น โกงกางจะมีรากค้ำจุนหรือรากพยุง (prop roots) และรากอากาศ รากเหล่านี้จะห้อยจากลำต้นหรือกิ่งลงสู่ดิน ต้นไม้ป่าชายเลนบางชนิดมีระบบรากเคเบิล (cable roots หรือ Pencil roots) เช่น ต้นแสม รากชนิดนี้จะออกมาครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อช่วยพยุงลำต้นให้ยืนอยู่ได้ ส่วนต้นไม้ป่าชายเลนชนิดอื่นๆ เช่น โปรงแดง จะมีรากพูพอน (buttress roots) เช่นเดียวกันกับที่พบในต้นไม้ป่าเขตร้อน
roots roots
รากค้ำจุน หรือรากพยุงของต้นโกงกาง รากหายใจคล้ายเข่าของต้นถั่วขาว
roots roots
รากเคเบิ้ลของต้นแสม รากพูพอนของต้นโปรงแดง
ลักษณะรากไม้ป่าชายเลน

ต้นไม้ป่าชายเลนที่หยั่งรากลงลึกหรือเจาะรากฝังแน่นใน ดินมีไม่กี่ชนิด ส่วนมากแล้วต้นไม้ป่าชายเลนจะมีรากฝังตื้นๆ แต่อยู่หนาแน่น และอาจแผ่ปกคลุมเป็นพื้นที่กว้าง ต้นกล้าของต้นโกงกางจะมีส่วนเรดิเคิล (radicle) ยาว ซึ่งจะสามารถพัฒนาเป็นรากยึดได้ดี แต่เมื่อต้นกล้าเริ่มตั้งตัวในดินเลน ส่วนของเรดิเคิลจะพัฒนาไปอีกเล็กน้อย บทบาทการทำหน้าที่ของรากจะถูกรับช่วงโดยระบบกิ่งก้านของรากที่พัฒนามาจาก ส่วนปลายสุดของรากค้ำจุน โดยรากนี้จะเจาะลึกลงใต้ดินประมาณ 1 ฟุต
ส่วนต้นถั่วและโปรงแดงนั้น ระบบรากจะเป็นแบบเคเบิ้ล และจะส่งรากซึ่งมีลักษณะคล้ายหัวเข่าของมันโผล่ขึ้นมาเหนือผิวดินและสร้าง lenticles ซึ่งมีลักษณะเป็นตุ่ม ระบบรากของต้นแสม ลำแพน และต้นตะบูน จะไม่มีรากเกาะลึก แต่จะมีการพัฒนารากเคเบิ้ลที่หนาแน่น ซึ่งจะวางยาวใต้ผิวดินประมาณ 20 - 50 เซนติเมตร ต้นแสมและต้นลำแพน จะมีการพัฒนารากหลายๆ ชนิด ซึ่งประกอบด้วยรากเคเบิ้ลขนาดใหญ่ แล้วแยกออกเป็นรากสมองอกแทงลงใต้ดิน และมีรากอากาศ หรือ pneumatophores แทงออกสู่ด้านบน รากอากาศนี้จะสร้างรากดูดอาหารจำนวนมาก รากดูดอาหารจะยึดเกาะอยู่ในชั้นผิวดินที่อุดมไปด้วยธาตุอาหาร


การปรับตัวให้ป่าชายเลนแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น

        ป่าชายเลนก็เช่นเดียวกับพืชชนิดอื่นๆ ที่ต้องการแพร่กระจายเมล็ดพรรณหรือลูกหลานไปยังพื้นที่อื่น การแพร่กระจายแบบนี้ เรียกว่า dispersion โดยต้นไม้ป่าชายเลนจะมีฝักเมล็ดที่สามารถลอยน้ำได้ ฝักของต้นไม้ป่าชายเลนบางชนิดสามารถที่จะเริ่มเติบโตในขณะที่ยังติดอยู่กับ ต้น โดยสามารถงอกต้นอ่อนยาวถึง 1 เมตร
นอกจากฝักเมล็ดสามารถลอยน้ำแล้ว ไม้ป่าชายเลนบางชนิดมีผลที่มีการงอกเป็นต้นอ่อนตั้งแต่อยู่บนต้น ก่อนที่จะร่วงลงสู่พื้นดิน (Vivipary) ได้แก่ ต้นโกงกางใบเล็ก ต้นโกงกางใบใหญ่ ต้นแสม ต้นเล็บมือนาง และต้นถั่ว เป็นต้น โดยขณะที่ฝักต้นอ่อนยังคงอยู่บนต้น มันก็จะได้รับอาหารจากต้น ฝักต้นอ่อนบางชนิดสามารถอาศัยอยู่บนต้นได้เป็นเวลานาน ทำให้มันสะสมอาหารได้มาก เมื่อถึงเวลาที่ฝักต้นอ่อนร่วงหล่นลงน้ำ มันจึงสามารถอยู่ในน้ำได้นานและสามารถลอยไปได้ไกล ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ต้นไม้ป่าชายเลนจากชายฝั่งแห่งหนึ่งสามารถที่จะแพร่ กระจายไปยังที่อื่น ที่อยู่ห่างไกลออกไปได้
ฝักถั่วขาวงอก
ฝักต้นอ่อนของไม้ป่าชายเลนจะลอยอยู่ในน้ำจนกระทั่งพบ พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต มันก็จะปักรากลงในดินเลน และใช้อาหารที่มันสะสมไว้ในการเจริญเติบโตเข้าสู่ระยะต้นกล้าอย่างรวดเร็ว
ลักษณะการสืบพันธุ์ของต้นไม้ป่าชายเลนจะแตกต่างกันแล้ว แต่ชนิด บางกลุ่มก็สืบพันธุ์โดยฝักต้นอ่อน (propagules) เช่น โกงกาง รังกะแท้ โปรง และต้นถั่ว เป็นต้น บางกลุ่มก็สืบพันธุ์โดยเมล็ด ได้แก่ แสม ต้นถั่ว ต้นเล็บมือนาง ต้นฝาด และต้นจาก เป็นต้น บางกลุ่มก็สามารถปลูกได้จากกิ่งและต้นกล้า เป็นต้น


ประโยชน์ของต้นแสมขาว


ประโยชน์

ก้านและใบ : เผาไฟรมควัน แก้พิษจากสัตว์น้ำทุกชนิดโดยเฉพาะปลาทะเลมีพิษ

เปลือก : เป็นยาบำรุงกำหนัด แก้ปวดฟัน ตำพอกฝีแตก กระพี้ เป็นยาแก้พิษงู

แก่น : มีรสเค็มเฝื่อน ต้มน้ำ แก้ลมในกระดูก แก้กระษัยโดยมากจะใช้คู่กับแก่นแสมสาน (ขี้เหล็กป่า) เป็นยาขับโลหิตเสียของสตรี หรือ ใช้ดื่มแก้ท้องร่วง

ลำต้น : เป็นเชื้อเพลิง ทำเป็นแผ่นหนา ปูเป็นไม้พื้น ที่พักชั่วคราว ลำต้นตรงทำสากตำข้าว เสาโป๊ะ ด้ามบิลเลียด เนื้อไม้อ่อนหยาบเลื่อยไสตบแต่งง่าย

ผล : นำมาต้ม รับประทานได้ แต่ไม่นิยมนำมาทำขนมลูกแสมเท่ากับผลแสมดำ

แหล่งอ้างอิง



แหล่งอ้างอิง

http://www.sc.psu.ac.th/chm/biodiversity/mangrove_plant.html

http://tanhakit.blogspot.com/2010/12/blog-post_256.html

http://bangkrod.blogspot.com/2011/03/blog-post_28.html

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7 

http://web3.dnp.go.th/botany/BFC/leaf.html#arrange http://202.143.144.83/~pojanart/107.html

http://www.aquatoyou.com/index.php/2010-01-08-12-31-12/2011-12-16-05-53-11/822-avicennia-alba

คณะผู้จัดทำ




คณะผู้จัดทำ



จากซ้ายไปขวา
นางสาว ณพรัตน์   มาลาม           เลขที่ 49
นาย      ณัฐพงศ์   ละหุ่งเพ็ชร      เลขที่  7
นางสาว ชลิดา      เรืองศรี           เลขที่ 48
นางสาว พรไพลิน  ว่องธนาการ     เลขที่ 50
นาย      อนพัช     จิรพงศ์ชัยกุล   เลขที่  5

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 
โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม