วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ลักษณะโดยทั่วไป




ชื่อพฤกษศาสตร์: Avicennia alba Blume 

ชื่อพื้นเมือง: แสมขาว 

วงศ์: AVICENNIACEAE 

ลักษณะ: เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 8 - 20 เมตร ราก,ระบบรากแก้ว หยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายดินสอ ยาว 15 - 30 เซนติเมตร โผล่เหนือผิวดิน หนาแน่นบริเวณโคนต้น ลำต้น มีลำต้นหลักเพียงหนึ่งเห็นได้ชัดเจน เนื้อไม้แข็ง  เปลือกเรียบสีเทา ลำต้นที่มีอายุมากขึ้น มักจะมีสีสนิมเกิดจากเชื้อรา ติดตามกิ่งและผิวของลำต้น ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปหอกแกมรี หรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน ขนาด 2 - 5 X 5 - 16 เซนติเมตร ฐานใบแหลม ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม ก้านใบยาว 1 - 2 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านท้องใบมีขนยาวนุ่ม มันพบในป่าชายเลน

ความสัมพันธ์กับชุมชน :
เป็น แหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ เป็นฉากกำบัง ป้องกันพายุ คลื่น ลมกัดเซาะชายฝั่ง


ความสำคัญทางเศรษฐกิจ :
เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์น้ำ เป็นแนวกันลม นำไม้มาเผาถ่าน ประโยชน์ทางสมุนไพร แก่นแสม มีรสเค็ม เฝื่อน ต้มกับน้ำแก้กษัย โดยมากจะต้มรวมกับแก่นแสมสาร เป็นยาขับเลือดสตรี 









  รากอากาศของต้นแสมขาว     

        รากอากาศ คือ การเจริญเติบโตขึ้นโผล่พ้นผิวดิน และรากดูดอาหารก็จะงอกออกมามากมายในชั้นดินที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ การหายใจของรากอากาศจะมีความสำคัญน้อยกว่าบทบาทการสร้างรากดูดอาหาร ระบบการจับอากาศของรากนั้นจะพบในที่ติดกับ lenticle ของรากอากาศ หรือ prop roots เช่น เมื่อน้ำท่วมปกคลุมรากต้นแสม ความดันในระบบรากก็จะลดลง และจะเริ่มสูงขึ้นอีกครั้งเมื่อน้ำเริ่มลด แล้วรากก็จะดูดอากาศเข้ามาในรากอย่างรวดเร็ว
        รากอากาศเปรียบเสมือนปล่องที่เป็นตัวถ่ายอากาศของระบบ รากในดินเลนที่ไม่มีอากาศ ดินโคลนชั้นลึกลงไปไม่เพียงเป็นชั้นที่ขาดออกซิเจนเท่านั้น แต่ยังเต็มไปด้วยก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ดังนั้นรากสมอจึงไม่มีการแลกเปลี่ยนก๊าซหรือสารอาหารกับดินรอบๆ มัน แต่บางครั้งก็พบก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในดินชั้นบนซึ่งรากดูดอาหารอาศัยอยู่
       








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น