วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การปรับตัวของพืชในป่าชายเลนต่อสภาพแวดล้อม


ตัวอย่างพืชในป่าชายเลน


       ประเทศไทยมีพรรณไม้ในป่าชายเลน 74 ชนิด ซึ่งพรรณไม้ที่เด่นและเป็นไม้ที่สำคัญในป่าชายของไทยนั้น ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucronata) , โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) , แสมทะเล (Avicennia marina) , แสมขาว (Avicennia alba) , แสมดำ (Avicennia officinalis) ,โปรงแดง (Ceriops tagal) , หญ้าทะเล ฯลฯ



การปรับตัวสำหรับการมีชีวิตในดินที่มีน้ำท่วมขัง

        โดยปกติแล้วในป่าชายเลนจะมีน้ำจะท่วมขังอยู่เสมอเนื่องจากอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง ดังนั้นดินในป่าชายเลนจึงมีน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ ทำให้ออกซิเจนในอากาศไม่สามารถแพร่กระจายลงสู่ดินได้ อย่างไรก็ตามรากของต้นไม้ป่าชายเลนต้องการออกซิเจนเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต และการเจริญเติบโต ดังนั้นต้นไม้ป่าชายเลนส่วนมากจึงมีรากอากาศ (pneumatophores) โผล่พ้นเหนือดิน ออกซิเจนจึงสามารถผ่านลงทางรากอากาศสู่รากที่อยู่ใต้ดินได้ รูปทรงของรากอากาศมีตั้งแต่ผอมบางคล้ายแท่งดินสอ เช่น ต้นแสม จนกระทั่งเป็นปุ่มอ้วนๆ ซึ่งพบในต้นลำแพน และต้นตะบูนดำ
ต้นไม้แต่ละชนิดจะมีลักษณะรากเฉพาะของมันเอง ต้นโกงกางจะมีรากที่มองดูเหมือนกับสุ่มจับปลา ส่วนต้นแสมก็จะมีรากหายใจที่แหลมโผล่ออกมาจากใต้ดินมองดูเหมือนไม้ปลายแหลม ขนาดใหญ่ และต้นถั่ว มีรากหายใจโผล่พ้นดินออกมามองดูเหมือนกับหัวเข่าของมนุษย์

        ต้นไม้ป่าชายเลนบางชนิดจะมีรูเล็กๆ จำนวนมากที่บริเวณลำต้นและรากที่โผล่ออกมา รูเหล่านี้จะนำอากาศเข้าสู่ต้นพืช และภายในต้นไม้ก็จะมีเนื้อเยื่อฟองน้ำนำออกซิเจนสู่รากเช่นกัน

DSC_9073


Text Box: รากอากาศของต้นไม้ป่าชายเลน



การปรับตัวเพื่อพยุงตัวเองในดินเลนเปียก


        ต้นไม้ป่าชายเลนเจริญเติบโตมีความสูงประมาณ 40 เมตร และเจริญเติบโตได้ดีในดินเลนนิ่ม ดังนั้น จึงถูกน้ำพัดให้ล้มลงได้ง่าย พรรณไม้ในป่าชายเลนจึงมีการปรับตัวหลายๆ อย่างเพื่อที่จะให้ลำต้นยืนอยู่ได้ ต้นไม้ป่าชายเลน เช่น โกงกางจะมีรากค้ำจุนหรือรากพยุง (prop roots) และรากอากาศ รากเหล่านี้จะห้อยจากลำต้นหรือกิ่งลงสู่ดิน ต้นไม้ป่าชายเลนบางชนิดมีระบบรากเคเบิล (cable roots หรือ Pencil roots) เช่น ต้นแสม รากชนิดนี้จะออกมาครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อช่วยพยุงลำต้นให้ยืนอยู่ได้ ส่วนต้นไม้ป่าชายเลนชนิดอื่นๆ เช่น โปรงแดง จะมีรากพูพอน (buttress roots) เช่นเดียวกันกับที่พบในต้นไม้ป่าเขตร้อน
roots roots
รากค้ำจุน หรือรากพยุงของต้นโกงกาง รากหายใจคล้ายเข่าของต้นถั่วขาว
roots roots
รากเคเบิ้ลของต้นแสม รากพูพอนของต้นโปรงแดง
ลักษณะรากไม้ป่าชายเลน

ต้นไม้ป่าชายเลนที่หยั่งรากลงลึกหรือเจาะรากฝังแน่นใน ดินมีไม่กี่ชนิด ส่วนมากแล้วต้นไม้ป่าชายเลนจะมีรากฝังตื้นๆ แต่อยู่หนาแน่น และอาจแผ่ปกคลุมเป็นพื้นที่กว้าง ต้นกล้าของต้นโกงกางจะมีส่วนเรดิเคิล (radicle) ยาว ซึ่งจะสามารถพัฒนาเป็นรากยึดได้ดี แต่เมื่อต้นกล้าเริ่มตั้งตัวในดินเลน ส่วนของเรดิเคิลจะพัฒนาไปอีกเล็กน้อย บทบาทการทำหน้าที่ของรากจะถูกรับช่วงโดยระบบกิ่งก้านของรากที่พัฒนามาจาก ส่วนปลายสุดของรากค้ำจุน โดยรากนี้จะเจาะลึกลงใต้ดินประมาณ 1 ฟุต
ส่วนต้นถั่วและโปรงแดงนั้น ระบบรากจะเป็นแบบเคเบิ้ล และจะส่งรากซึ่งมีลักษณะคล้ายหัวเข่าของมันโผล่ขึ้นมาเหนือผิวดินและสร้าง lenticles ซึ่งมีลักษณะเป็นตุ่ม ระบบรากของต้นแสม ลำแพน และต้นตะบูน จะไม่มีรากเกาะลึก แต่จะมีการพัฒนารากเคเบิ้ลที่หนาแน่น ซึ่งจะวางยาวใต้ผิวดินประมาณ 20 - 50 เซนติเมตร ต้นแสมและต้นลำแพน จะมีการพัฒนารากหลายๆ ชนิด ซึ่งประกอบด้วยรากเคเบิ้ลขนาดใหญ่ แล้วแยกออกเป็นรากสมองอกแทงลงใต้ดิน และมีรากอากาศ หรือ pneumatophores แทงออกสู่ด้านบน รากอากาศนี้จะสร้างรากดูดอาหารจำนวนมาก รากดูดอาหารจะยึดเกาะอยู่ในชั้นผิวดินที่อุดมไปด้วยธาตุอาหาร


การปรับตัวให้ป่าชายเลนแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่น

        ป่าชายเลนก็เช่นเดียวกับพืชชนิดอื่นๆ ที่ต้องการแพร่กระจายเมล็ดพรรณหรือลูกหลานไปยังพื้นที่อื่น การแพร่กระจายแบบนี้ เรียกว่า dispersion โดยต้นไม้ป่าชายเลนจะมีฝักเมล็ดที่สามารถลอยน้ำได้ ฝักของต้นไม้ป่าชายเลนบางชนิดสามารถที่จะเริ่มเติบโตในขณะที่ยังติดอยู่กับ ต้น โดยสามารถงอกต้นอ่อนยาวถึง 1 เมตร
นอกจากฝักเมล็ดสามารถลอยน้ำแล้ว ไม้ป่าชายเลนบางชนิดมีผลที่มีการงอกเป็นต้นอ่อนตั้งแต่อยู่บนต้น ก่อนที่จะร่วงลงสู่พื้นดิน (Vivipary) ได้แก่ ต้นโกงกางใบเล็ก ต้นโกงกางใบใหญ่ ต้นแสม ต้นเล็บมือนาง และต้นถั่ว เป็นต้น โดยขณะที่ฝักต้นอ่อนยังคงอยู่บนต้น มันก็จะได้รับอาหารจากต้น ฝักต้นอ่อนบางชนิดสามารถอาศัยอยู่บนต้นได้เป็นเวลานาน ทำให้มันสะสมอาหารได้มาก เมื่อถึงเวลาที่ฝักต้นอ่อนร่วงหล่นลงน้ำ มันจึงสามารถอยู่ในน้ำได้นานและสามารถลอยไปได้ไกล ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ต้นไม้ป่าชายเลนจากชายฝั่งแห่งหนึ่งสามารถที่จะแพร่ กระจายไปยังที่อื่น ที่อยู่ห่างไกลออกไปได้
ฝักถั่วขาวงอก
ฝักต้นอ่อนของไม้ป่าชายเลนจะลอยอยู่ในน้ำจนกระทั่งพบ พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต มันก็จะปักรากลงในดินเลน และใช้อาหารที่มันสะสมไว้ในการเจริญเติบโตเข้าสู่ระยะต้นกล้าอย่างรวดเร็ว
ลักษณะการสืบพันธุ์ของต้นไม้ป่าชายเลนจะแตกต่างกันแล้ว แต่ชนิด บางกลุ่มก็สืบพันธุ์โดยฝักต้นอ่อน (propagules) เช่น โกงกาง รังกะแท้ โปรง และต้นถั่ว เป็นต้น บางกลุ่มก็สืบพันธุ์โดยเมล็ด ได้แก่ แสม ต้นถั่ว ต้นเล็บมือนาง ต้นฝาด และต้นจาก เป็นต้น บางกลุ่มก็สามารถปลูกได้จากกิ่งและต้นกล้า เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น